Friday, July 29, 2005

Vesali มหานครแห่งเจ้าลิจฉลี และพระเจดีย์สันติภาพ





















เวสาลี



ที่ตั้ง
เมืองเวสาลี ตั้งอยู่ทางฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำคงคา ในเมืองมูซัฟฟาปูร์ห่างจาก เมืองปัตนะเมืองหลวงของรัฐพิหาร ประมาณ ๔๔ กิโลเมตร มีแม่น้ำคงคากั้นกลางเป็นพรม แดนธรรมชาติระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นวัชชีในอดีต ทิศเหนือจรดภูเขาหิมาลัย ทิศใต้จดแม่น้ำ คงคา ซึ่งกันระหว่างวัชชีกับมคธ ทิศตะวันออกจดแม่น้ำโกสี, เกาสิกี ทิศตะวันตกจดแม่น้ำคันฑัก
ประวัติเมืองเวสาลี
เป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชี เป็นเมืองใหญ่หนึ่งในเจ็ดของอินเดียโบราณ ที่ได้ ชื่อว่าเวสาลี เพราะเป็นเมืองของพระเจ้าววิสาละ ในชาดกกล่าวว่า เมืงอเวสาลีล้อมรอบด้วย กำแพง ๓ ชั้น แต่ละชั้นห่างกัน ๑ คาวุต ที่กำแพงมีประตูหอคอยและคฤหาสน์ ใกล้เมือง เวสาลีม่ป่ามหาวัน ในป่านั้นมีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อกูฏาคารศาลา ในมหากาพย์รามายณ์ กล่าวว่า โอรสของอิกสวากุเทพบุตร และอลัมพุษเทพธิดา เป็นผู้สร้างเมืองนี้
ความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ
กำเนิดปริตร สมัยหนึ่งเมืองเวสาลีเกิดอหิวาตกโรคขึ้น เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ ได้ไปทูลนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังเมืองเวสาลี พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป แล้วให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตร ทำปริตรในระหว่างกำแพงสามชั้น ในเมืองเวสาลี เมืองโรคระงับแล้ว พระพุทธองค์ได้ตรัสรัตนสูตรโปรดเวไนยสัตว์อยู่เจ็ดวัน มีผู้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก
ในพรรษาที่ ๕ พระพุทธองค์ได้เสด็จจำพรรษาในกรุงเวสาลี ณ กูฏาคาร ศาลา ป่ามหาวัน มีพระสูตรหลายสูตรและหลายชาดกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ที่เมืองเวสาลี เช่น มหาลิสูตร ขาลิยสูตร มหาสีหนาทสูตร จูฬสัจจกสูตร มหาสัจจกสูตร เตวิชสูตร สุนักขัตตสูตร รัตนสูตร เตโลรทชาดก สิคารชาดก
พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระทัยน้อมไปในบรรพชา จึงได้เสด็จเข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยนางสากิยานี ๕๐๐ คน ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคาร ศาลาป่ามหาวัน พระพุทธองค์ทรงอนุญาต โดยให้ประพฤติครุธรรมแปดประการ
พรรษาสุดท้าย พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจำพรรษาสุดท้ายที่เมืองนี้ ในหมู่บ้าน เวฬุคาม เมื่อออกพรรษาแล้ว ทรงดำเนินเรื่อยไปโดยพระบาทผ่านหมู่บ้านน้อยใหญ่ในเมืองนี้ เมื่อเสด็จถึงทิวาวิหารที่ปาวาลเจดีย์ทรงหยุดพัก ณ ที่ตรงนี้ ได้ตัดสินพระทัยที่จะปลงอายุสังขาร ว่าต่อไปนี้อีก ๓ เดือน พระองค์จะเสด็จปรินิพพาน แล้วเสด็จผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ในเมือง เวสาลีจนกระทั่งเสด็จเข้าสู่เมืองกุสินารา
ทำสังคายนา เมืองเวสาลี เป็นสถานที่ทำสังคายนาครั้งที่สองเพื่อชำระพระธรรม วินัยระงับ ข้อปฏิบัติที่ผิดพระธรรมวินัยของภิกษุพวกวัชชีบุตรหลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี พระ อรหันต์ร่วมในพิธี ๕๐๐ รูป ใช้เวลาทำสังคายนา ๕ เดือน
สมณะเฮี่ยนจัง กล่าวไว้ในจดหมายเหตุว่า อาณาจักรเวสาลีมีเนื้อที่ ๕,๐๐๐ ลี้ เป็นถิ่นอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีความซื่อสัตย์ มีรายได้ดี รักการศึกษา ได้พบสิ่งก่อสร้าง ทางพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนร้อน ส่วนใหญ่ปรักหักพังรกร้างใก้เมืองยังมีวัดอยู่แห่งหนึ่ง มีพระไม่กี่รูป อยู่ในนิกายสัมมิติยะ เถรวาท ท่านได้ไปเยี่ยมวัดเสวตปุระมีนักบวชฝ่ายมหายาน อาศัยอยู่ ได้พบที่บรรจุพระธาตุพระอานนท์ด้วย หลังจากที่หลวงจีนเฮี่ยนจังได้ไปมาแล้ว สถานการณ์พระพุทธศาสนาในเมืองเวสาลี เป็นที่ทราบได้น้อยมาก
สถานที่สำคัญ
หลักศิลาที่ค้อธนา มีเสาหินตั้งเด่นเป็นสง่า ซึ่งได้จัดทำขึ้นโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านมาสาธออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นเสา หินทรายขัดมัน มีเจดีย์ตั้งอยู่เรียงรายรอบเสาหินของพระเจ้าอโศก บนเสาหินมีรูปสิงโตตัวเดียว ซึ่งถือว่ายังสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคนี้ที่ไม่ถูกทำลาย
พระสถูปองค์ที่หนึ่ง พระถังซังจั๋งได้บันทึกไว้ว่า อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเสาหินพระเจ้าอโศก เป็นกองเนินดินอิฐ เป็นที่รู้กันว่าเป็นสถูปที่ ๑ มีความสูงประมาณ ๑๕ ฟิต ในที่ไม่ห่างออกไปนัก ได้มีการค้นพบผอบบรรจุพระอังคารของพระพุทธองค์ แต่ในคัมภีร์ กล่าวว่า กษัตริย์ชาววัชชีได้รับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ส่วนหนึ่งจากแปดส่วน ที่เมืองกุสินารา
พระสถูปองค์ที่สองในปีพ.ศ. ๒๕๐ กรมศิลปากรของประเทศอินเดีย ได้ทำการ ขุดค้น และพบผอบบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ชาวญี่ปุ่นได้สร้างหลังคาครอง องค์สถูป เพราะเหลืออยู่แต่ส่วนฐานอยู่ระดับเดียวกับพื้นดิน
สระน้ำราชาภิเษกของกษัตริย์ลิจฉวี เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นสระต้องห้าม ประจำเมืองเวสาลี สำหรับราชตระกูลกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองเวสาลีเท่านั้นที่จะใช้สรงสนาน และน้ำที่นำมาใช้สำหรับกษัตริย์ที่จะขึ้นครองราชย์ จะต้องนำน้ำจากสระนี้มาประกอบ พิธีมุรธาภิเษกเป็นกษัตริย์
วาลุการาม เป็นวัดในเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี เป็นที่ประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ปัจจุบันมีเฉพาะส่วนที่เหลือจากการทำลายพอเป็นหลักฐานคือ ตรงส่วนเป็นรูปบาตรคว่ำของ เจดีย์ไม่มีปลาย เนื่องจากชาวฮินดูตั้งไว้บูชา เพราะไม่มียอดจึงดูเหมือนศิวลึงค์ แต่มีพระพุทธรูป ปรากฏอยู่รอบ ๆ เป็นหลักฐานว่านี้คือ วัดของพุทธ
โกลเหา เป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองบาร์ชาร์ ๒ ไมล์ เดิมเป็นชานเมืองของเวสาลีได้พบเสาศิลาของพระเจ้าอโศกมหาราชที่หมู่บ้านนี้ ทางทิศ ใต้ของเสาศิลานั้นไปประมาณ ๕๐ ฟุต มีบ่อน้ำบ่อหนึ่ง เรียกกันว่า รามกุนท นักโบราณคดี เชอร์ คันนิ่งแฮม มีมติว่า เขาขุดบ่อน้ำนี้ถวายพระพุทธเจ้า ไปทางทิศตะวันตกของเสา ศิลาประมาณ ๑๕ ฟุต ฐานกว้างประมาณ ๖๕ ฟุต เชื่อกันว่า พระเจ้าอโศกโปรดให้สร้างไว้ พระสถูปใช้อิฐก่อเป็นห้องแบบใหม่ มีบันไดหลายชั้นเลียบผนังขึ้นไป ประดิษฐพระพุทธรูป ปางสะดุ้งมารเป็นศิลปสมัยปาละ
มัญฌิ เป็นหมู่บ้านอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของฉัประ ประมาณ ๑๒ ไมล์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมัญฌิ มีรากฐานป้อมโบราณ ที่อนุสาวรีย์เล็กในป้อมมีพระพุทธ รูปองค์หนึ่งสูง ๑๓ นิ้ว อนุสาวรีย์นั้นเรียกว่า มาเธศวร
เกสรียา เป็นเมืองที่ค้นพบใหม่ ห่างจากปัตนะประมาณ ๑๒๐ กม. มีพระสถูปสูง ประมาณ ๑๔๕ เมตร สูงกว่าพุทธคยาและมีพระพุทธรูปประทับนั่งปางสะดุ้งมารเป็นประธาน ในวิหาร แต่เสียดายเศียรพระพุทธรูปถูกทุบทำลายที่ค้นพบใหม่ในเร็วนี้ สันนิษฐานว่า น่าจะ เป็นหมู่บ้านของชาวเกสบุตรนิคม ที่เรียกเพี้ยนมากจาก เกสปุตตนิคม มาเป็น เกสริยา น่าจะเป็นพุทธสถานที่สำคัญแห่งใดแห่งหนึ่งแน่นอน
กำแพงและตัวเมืองเวสาลี ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำคัณฑกะ ต่อมาแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางเดิน แม่น้ำเก่ากลายเป็นทะเลสาบ กำแพงของเมืองเป็นเนินดินสูงใหญ่และยาว ทางการไม่ได้ขุด แต่งอะไรมากนัก มีเสาหินใหญ่เสาหนึ่งตั้งอยู่หน้ากำแพงเมืองเวสาลี สูงประมาณ ๒๐ ฟุต เป็นเสาหินสร้างใหม่ มีภาษาฮินดีจารึกไว้บนเสาว่า “รัฐบาลพิหาร” เป็นผู้สร้างนำมาประดิษฐ์ ณ ที่ตั้งเมืองเวสาลีโบราณ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ บนยอดเสาทำเป็นฉัตร ๓ ชั้น คูเมืองหน้ากำแพง ก็ปรากฏอยู่เป็นคูตื้นเขินตามกาลเวลา มีกำแพงสูงจากพื้นดินข้างละประมาณ ๘ เมตรมีความแข็งแรงมาก วัดโดยรอบเกือบ ๑ ไมล์

No comments: