Friday, July 29, 2005

พระแท่นวัชรอาสน์(Vajarasana) และรัตนจงกรมเจดีย์


พระมหาเจดีย์พุทธคยา หรือพระวิหารมหาโพธิ์
พระมหาเจดีย์พุทธคยานี้ ก่อสร้างด้วยหิน ทรายสีน้ำตาลนวล มีลักษณะเป็นทรง สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดแหลมคล้ายยอดพระเจดีย์ทั่วไป มีความสูงประมาณ ๑๗๐ ฟุต ฐานวัดโดย รอบได้ ๘๖ เมตร พระเจ้าหุวิชกะ ทรงสร้างต่อมาจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และมีการ ซ่อมแซมบูรณะเรื่อยมา โดยท่านผู้เลื่อมใสในพระ พุทธศาสนา ดังนั้น องค์พระเจดีย์จึงมีทรงเป็นเหลี่ยม ที่มียอดแหลม นอกจากนี้ยังมีองค์เจดีย์เล็กๆ ลดหลั่น กันไปอยู่โดยรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ จึงทำให้พระเจดีย์ มีความงามยิ่งขึ้น มีห้องสำหรับปฏิบัติธรรมอยู่ชั้นบน ส่วนชั้นล่างนั้น ประดิษฐานพระประธานขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑.๖๖ เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๔๗ เมตร แกะสลักด้วยหินตามแบบศิลปะสมัยปาละ มีอายุประมาณ ๑,๔๐๐ ปี องค์พระพุทธรูป ทาสีทองสวยงามมาก คนไทยนิยมเรียกว่า พระพุทธเมตตา
๔. อนิมิสเจดีย์
หลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ประทับนั่ง เสวยวิมุติสุข ณ บัลลังก์ที่ประทับนั่งตรัสรู้ ตลอด ๗ วัน เทวดาบางพวกเกิดความปริวิตกว่า แม้วันนี้ พระสิทธัตถะ ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นแน่ เพราะยังไม่ละความอาลัย ในบัลลังก์ ด้วยพระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้ก่อน ประทับนั่งว่า ถ้าไม่ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่เสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ ในวันที่ ๘ ทรงออก จากสมาบัติ ทรงทราบความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศ เพื่อกำจัดความสงสัยของ เทวดาเหล่านั้น ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ครั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์กำจัดความสงสัย ของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องจากบัลลังก์ไป เล็กน้อย ทรงจ้องดูบัลลังก์และต้นโพธิ์ สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญ มาถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบว่า เราบรรลุสัพพัญญุตญาณเหนือ บัลลังก์นี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้นจึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์
ปัจจุบันได้สร้างเป็นเจดีย์องค์ใหญ่มีสีขาว อยู่ทางด้านขวามือของบันไดที่จะลง สู่มหาโพธิสถาน หรือทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระเจดีย์มหาโพธิ์ ดูผิวเผินมีรูปทรง คล้ายกับเจดีย์องค์ใหญ่ แต่ลวดลายหยาบกว่า

๕. รัตนจงกรมเจดีย์
ในสัปดาห์ที่สาม พระองค์ทรง เนรมิตที่จงกรมระหว่างบัลลังก์ที่ประทับนั่งตรัสรู้ กับอนิมิสเจดีย์ ทรงจงกรมบนรัตนจงกรม จากทิศ ตะวันออกจรดทิศตะวันตกอยู่ตลอดสัปดาห์ สถานที่นั้นจึงชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์ ปัจจุบัน มีหินแกะสลักทำเป็นดอกบัว ศิลปะภารหุต ประมาณ ๑๒ ศอก วางเรียงกันเป็นแนวยาวตลอด อยู่ทางด้านซ้ายมือข้างองค์พระมหาเจดีย์ พุทธคยา หรืออยู่ทางทิศเหนือ สร้างเป็นแท่นหินสูง ๑ เมตร มี ๑๙ ดอก
๖. รัตนฆรเจดีย์
ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายเนรมิตเรือนแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฏก และพระสมันตปัฏฐาน อนันตนัยในพระอภิธรรมปิฏกโดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ ส่วนนักอภิธรรมกล่าวว่า ที่ชื่อว่า เรือนแก้ว ไม่ใช่เรือนที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ แต่สถานที่ที่ ทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ เรียกว่า เรือนแก้ว ท่านประยุกต์เรื่องทั้งสองเข้าไว้ในที่นี้โดยปริยาย จึงควรถือเอาทั้งสองนัย สถานที่นั้นจึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์
ลักษณะที่ปรากฏในปัจจุบัน เจดีย์นี้สร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาตัดตรง ทาสีเหลือง ด้านหน้ามีประตูทางเข้า หันหน้าไปทางกำแพงด้านทิศเหนือ ภายในมีพระพุทธรูป ทองเหลืองขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ประดับอย่างสวยงามประดิษฐานอยู่
๗. อชปาลนิโครธ
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใกล้ๆ ต้นโพธิ์ ๔ สัปดาห์แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๕ เสด็จออก จากบริเวณควงไม้โพธิ์เสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปทางทิศตะวันออก ประทับนั่งพิจารณาพระธรรม และเสวยวิมุตติสุขที่ต้นอชปาลนิโครธนั้น ณ ที่ตรงนี้ พราหมณ์ผู้ทิฏฐมังคลิกะ เที่ยวตวาดว่า หึ หึ ด้วยอำนาจความถือตัว ได้ทูลถามพระผู้พระภาคเจ้าว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียง เท่าไร ธรรมเหล่าไหนทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานแสดง เหตุและธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์
๘. สระมุจลินท์
ครั้นประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธตลอด ๗ วัน ในสัปดาห์ที่ ๕ แล้ว จึงเสด็จไป ประทับ ณ โคนต้นมุจลินท์ (ต้นจิกนา) อีกสัปดาห์หนึ่ง พอประทับนั่งในที่นั้นเท่านั้น มหาเมฆซึ่งมิใช่ฤดูกาลก็เกิดขึ้นเต็มทั่วห้องจักรวาล เมื่อมหาเมฆเกิดขึ้นแล้ว พญานาคชื่อมุจลินท์ คิดว่า เมื่อพระพุทธเจ้ามาสู่สถานที่ของเรา มหาเมฆก็เกิดขึ้น พระองค์ควรได้อาคารที่ ประทับ พญานาคแม้จะสามารถเนรมิตวิมานทิพย์ เหมือนกับเทพวิมาน แต่คิดว่า เมื่อเราสร้างวิมาน อย่างนี้ จักไม่มีผลมากแก่เรา เราจะขวนขวาย ด้วยกายตนเองเพื่อพระทศพล จึงทำอัตตภาพ ให้ใหญ่ยิ่งล้อมพระพุทธเจ้าไว้ด้วยขนด ๗ ชั้น แผ่พังพานไว้ข้างบน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บัลลังก์มีค่ายิ่งที่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ เพดานมีพวงดอกไม้หอมหลายชนิดห้อยอยู่ เบื้องบน อบอวลด้วยกลิ่นหอมนานาชนิด ในโอกาสใหญ่ภายในขนดล้อม เหมือนประทับอยู่ในพระคันธกุฏี ตลอด ๗ วัน ณ ที่ตรงนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงเปล่งอุทานปรารภความสุข ๔ ประการ เมื่อฝนหยุดแล้ว พญานาคราชจึง คลายขนดจำแลงเป็นมาณพยืนประคองอัญชลีถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทางเบื้อง พระพักตร์
สระมุจลินท์ อยู่ห่างจากเจดีย์พุทธคยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร ห่างจากแม่น้ำเนรัญชราประมาณครึ่งกิโลเมตร มีสระน้ำอยู่ใกล้หมู่บ้านชื่อมุจลินท์ ในปัจจุบัน ทางการได้จำลองสระมุจลินท์ไว้ที่บริเวณเจดีย์พุทธคยา มีพระพุทธรูปปางนาคปรก อยู่กลางสระ ติดกับกำแพงด้านวัดป่าพุทธคยา
๙. ราชายตนะ
ในสัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุติสุข พระพุทธองค์เสด็จเข้าไปประทับนั่ง ณ ราชายตนะ (ต้นเกด) ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในฌานและสุขในผล
สถานที่นี้ อยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิห่างจากแม่น้ำเนรัญชราไปทาง ทิศตะวันตกประมาณ ๑ กิโลเมตร อยู่ห่างจากสระมุจลินท์ไปประมาณ ๕๐๐ เมตร มีต้นโพธิ์ขึ้น แทนต้นเกด ชาวฮินดูได้สร้างเทวสถานไว้ใกล้ ๆ มีทางเข้าต่อจากถนนเรียบแม่น้ำเนรัญชรา ฝั่งตะวันตกไปทางทิศใต้

No comments: